Saturday, November 23, 2024

An Administration Model to Strengthen Of The Primary School Teachers’ Commitment Under The Office Of The Primary Education Service Area

  

An Administration Model to Strengthen Of The Primary School Teachers’ Commitment Under The Office Of The Primary Education Service Area

Weera TaweeSuk

By Amornteb  Intasorn



Abstract

This aims of research were to create and improve an administration model to strengthen of the primary school teachers' commitment under the Office of the Primary Education Service Area with Empirical data. The samples were got from cluster sampling 1 checked area that was 4th checked area comprised 4 province as; Nakhon Pathom, Ratchaburi, Kanjanaburi, and Suphanburi. The data collected from 395 teacher that are about 89.77%. The instrument was a questionnaire that has 3 part as; general status, administration, and teacher’s commitment. The data was statistic analyzed by mean standard deviation, kurtosis, skewness, Pearson's Correlation Coefficient, and Structural Equation Modeling. The finding showed that latent variables affecting teachers' commitment under the Office of the Primary Education Service Area were as follow:

1. The Confidence factor analysis of latent variables found that all measurement models had real structural integrity.

2. The latent variables that influence teachers’ commitment were personal status, job characteristic, school characteristic, job satisfaction, and job motivation. The coefficient of determination was 53.10% at c2 = 32.43, df = 31, p-Value = 0.396, RMSEA = 0.001.

3. The result of the conformance check of the model was found that most experts agree that the format was appropriate, consistent, feasible, and could be used.

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

3. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

วิธีดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

1) ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ตลอดจนปัญหาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นแนวคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการวิจัย

มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย และสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารที่เสริม สร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

2) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ โดยสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ภายใต้การให้คำปรึกษาจากอาจารย์ผู้ดูแลวิทยานิพนธ์

ขั้นตอนที่ การสร้างรูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยสร้างและทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุระหว่างความผูกพันต่อโรงเรียนกับรูปแบบการบริหารด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณา ความเที่ยงตรงของโมเดลเป็น ภาพรวมทั้งโมเดลจากค่าสถิติวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Measures)
และวิเคราะห์โครงสร้างเชิงเส้นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์รูปแบบสมการโครงสร้างว่า รูปแบบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่

            ขั้นตอนที่ การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ โดยจัดสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ไปจัดทำเป็นรายงานผลการวิจัยต่อไป

 

ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 31,345 โรงเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ได้มาจาก การเลือกกลุ่มตัวอย่างตามโอกาสทางสถิติ (probability sampling) แบบหลายขั้นตอน(multi-stage random sampling) โดยประมาณกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตาราง เครจซี และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้สถานศึกษา จำนวน 380 โรงเรียน โดยการเลือกแบบจัดกลุ่ม (Cluster random sampling) ผู้วิจัยสุ่มจังหวัดได้ เขตตรวจราชการที่ มีจำนวน จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ประกอบด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต และเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต เขต เขต และเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต และเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต เขต และเขต จากนั้นเลือกโรงเรียน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาตามสัดส่วนจำนวนสถานศึกษา และกำหนดผู้ให้ข้อมูลคือครูที่สุ่มได้จากโรงเรียนตัวอย่างโรงเรียนละ คน รวมทั้งสิ้น 380 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครูสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ จำแนกเป็น 6 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับเพศ อายุ อายุราชการ ประสบการณ์การทำงานในโรงเรียนปัจจุบัน ตำแหน่งปัจจุบัน วิทยฐานะ และวุฒิการศึกษา ลักษณะของแบบสอบถามเป็นข้อคำถามชนิดเลือกตอบ (Forced choice)

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะงาน ประกอบด้วยความหลากหลายของทักษะ
ความประจักษ์ในงาน และความอิสระในงาน

ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะโรงเรียน ประกอบด้วยภาวะผู้นำของผู้บริหาร โครงสร้างของโรงเรียน และสภาพแวดล้อม

ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยความพึงพอใจในงาน รางวัลภายนอกและรางวัลภายใน

ตอนที่ 5 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน ประกอบด้วยความอยู่รอด ความสัมพันธ์ภายใน และความก้าวหน้าในงาน

ตอนที่ 6 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อโรงเรียน ประกอบด้วยการยอมรับเป้าหมาย
การทุ่มเทท างานและความต้องการเป็นสมาชิก

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้วยค่าความถี่และร้อยละ

2. วิเคราะห์ข้อมูลระดับของตัวแปรจากแบบสอบถามตอนที่ 2 - 6 วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความโด่ง และความเบ้

3. วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของข้อมูลตอนที่ 2 -6 ด้วย Exploratory Factor Analysis

4. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้จากแบบสอบถามตอนที่ 2 – 6 วิเคราะห์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’ s Moment Product)

5. การวิเคราะห์การบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย วิเคราะห์ด้วยรูปแบบสมการเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย

ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-Square Statistic) ถ้าค่าไค-สแควร์สูงมาก แสดงว่ารูปแบบไม่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นรูปแบบที่มีความสอดคล้องก็คือรูปแบบที่มีค่าไค-สแควร์ต่ าหรือเข้าใกล้ศูนย์มากที่สุด หรือมีค่าเท่ากับค่าองศาอิสระ

ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (Goodness of Fit Index : GFI) ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI)
มีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1

6. ความสอดคล้องเพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาด้วยค่าความถี่และร้อยละ

สรุปผลการวิจัย

ผู้วิจัยเรียงลำดับการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิง จำนวน 279 คน คิดเป็นร้อยละ 70.63 มีอายุระหว่าง
51 – 60 ปี จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 45.32 มีอายุราชการมากกว่า 31 ปี จำนวน 128 คน คิดเป็น ร้อยละ 28.86 มีประสบการณ์ในการทำงาน มากกว่า 31 ปี จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 29.87 มีระดับการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 52.15 และมีวิทยฐานะครูชำนาญการ จำนวน 164 คน
คิดเป็นร้อยละ 
41.52

2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา ของตัวแปรแฝงและตัวแปรที่สังเกตได้

ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝง พบว่ารูปแบบการวัดตัวแปร ลักษณะงาน ลักษณะโรงเรียน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แรงจูงใจในการทำงาน และความผูกพันต่อโรงเรียนของครู มีความตรงและมีค่าดัชนีวัดความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รายละเอียดต่าง ๆ มีดังนี้

2.1 องค์ประกอบลักษณะงาน ประกอบด้วย ความหลากหลายทักษะ ความประจักษ์ในงาน และความมีอิสระในงาน เป็นองค์ประกอบที่แท้จริงของตัวแปรแฝงลักษณะงาน

2.2 องค์ประกอบลักษณะโรงเรียน ประกอบด้วยภาวะผู้นำโครงสร้างโรงเรียนและสภาพแวดล้อม เป็นองค์ประกอบที่แท้จริงของตัวแปรแฝงลักษณะโรงเรียน

2.3 องค์ประกอบความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ความพึงพอใจในงาน รางวัลภายนอกและรางวัลภายใน เป็นองค์ประกอบที่แท้จริงของตัวแปรแฝงความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

2.4 องค์ประกอบแรงจูงใจในการทำงาน ประกอบด้วยความอยู่รอด ความสัมพันธ์ภายใน และความก้าวหน้าในงาน เป็นองค์ประกอบที่แท้จริงของตัวแปรแฝงแรงจูงใจในการท างาน

2.5 องค์ประกอบความผูกพันต่อโรงเรียน ประกอบด้วยการยอมรับเป้าหมาย การทุ่มเททำงานและความต้องการเป็นสมาชิกเป็นองค์ประกอบที่แท้จริงของตัวแปรแฝงความผูกพันต่อโรงเรียนการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

3. ผลการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามรูปแบบทางเลือก พบว่ามีตัวแปรที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2 ตัวแปรคือ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลโดยตรง เท่ากับ 0.12 และแรงจูงใจในการทำงาน มีอิทธิพลโดยตรง เท่ากับ 0.65

 

No comments:

Post a Comment

Empowering Educators: How Social-Emotional Management Can Transform Teaching

  Title: Social–Emotional Management to Promote Quality in Education: A Training Program for Teachers Link: https://www.proquest.com/docv...